วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธรรมชาติคืออะไร

ธรรมชาติคืออะไร

ธรรมชาติประกอบไปด้วย 2 คำ นั่นคือ ธรรมะ กับ ชาตะ ธรรมะ คือความจริง คือสิ่งที่ปรากฏจับต้องได้ รับรู้ได้ อย่างที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนพวกเราก็คือการรู้ซึ่งความจริง ก็คือ ธรรมะ ส่วนชาตะคือ การเกิด ซึ่งเป็นวัฏจักร เมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ มีตาย ใบไม้ก็ต้องร่วงนั่นคือวัฏจักร ดังนั้นธรรมชาติก็คือ วิถีหรือวัฏจักรของความจริงที่เกิดขึ้น
สมัยก่อน มองว่า ธรรมชาติคือ  ต้นไม้ สายลม และ ภูเขา ...ประมาณนั้น
หลังจากที่ได้เรียนรู้อะไรมาหลายอย่าง  แล้วมานั่งคิดฟุ้งซ้านอยู่พักนึง
ก็ให้คำนิยามมันกว้างขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า
เดิมที  มองว่า รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ ตึกรามบ้านช่อง ไม่ใช่ธรรมชาติ
แต่ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว
 
ธรรมชาติ คือ กฎเกณฑ์ อันยิ่งใหญ่และเด็ดขาด  ไม่อาจมีสิ่งใดขัดขืนได้แม้แต่นิดเดียว
แม้แต่เรื่องใกล้ตัวง่ายๆ  อย่างถ้าไม่กินข้าว ก็จะหิว  วิ่งเร็วมากๆก็จะเหนื่อย
แอ๊ปเปิ้ลตกลงสู่พื้น  นกบินในอากาศ  มีกลางวันและกลางคืน
นี่มันเรื่องธรรมดาทั้งนั้น 
เพราะ ธรรมชาติ  ก็คือ ความธรรมดา
ธรรมดาหมายถึง  เรื่องปกติทั่วไป ที่มันต้องเป็นอย่างนั้น เพราะมันต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น เป็นแบบอื่นไปไม่ได้
ไม่มีอะไรมาขัดแย้งมันได้  ไม่มีเหตุผลด้วยว่าทำไม  แต่มันเป็นอย่างนั้น มาไม่รู้ตั้งนานเท่าไหร่แล้ว
เหตุผลต่างๆที่คน ยกขึ้นมาอ้าง อย่างเช่น ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง  หรือ E=mc squareนั้น
เป็นเหตผลที่ยกขึ้นมา  เพื่อสนับสนุน กฎธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วทั้งสิ้น
 
กฎของธรรมชาตินั้น ซับซ้อนและมากมายเหลือคณานับ
ถ้าหากนำมาเขียนเป็นหนังสือ มันคงจะกองถมทัยทั้งโลกได้สบายๆ
หรือถ้านำมาบรรจุลงคอมพิวเตอร์  เมมโมรี่ทั้งโลกนี้ก็ใส่ได้ไม่หมด
ผมมองว่า กฎ ของธรรมชาตินั้น มีหลายชั้น หลายขึ้น
โดยขั้นพื้นฐาน  กำเนิดจากอนุภาคที่เล็กมาก ที่มนุษย์ค้นพบแล้วตั้งชื่อให้มันว่า "อะตอม"
 
อะตอมประกอบด้วย แกนกลางที่อัดแน่นด้วยอนุภาคเล็ก คือ นิวตรอน และโปรตอนซิ่งมีประจุ บวก
และกลุ่มหมอก อิเล็กตรอน ประจุลบ ที่วิ่งวนรอบแกนกลาง
จำนวนของอิเล็กตรอน และพลังงานของมัน คือตัวกำหนด คุณสมบัติทางเคมี ตามตารางธาตุ
เมื่ออะตอมเล็กๆนี้ ก่อตัวขึ้นเป็น วัตถุต่างๆ วัตถุเหล่านั้น จึงมีคุณสมบัตติต่างกัน
อย่างเหล็กที่มีผิวเรียบมันวาว, หินที่มีความหยาบกระด้าง,  กระจกที่ใส, แตกง่าย, ยืดหยุ่น, น้ำที่มีทั้ง 3 สถานะ
ขั้นที่ 2
เมื่อ ธาตุเหล่านี้เริ่มจับตัวกันเป็นกลุ่ม และเกิดปฏิกริยาเคมี แลกเปลี่ยนสะสารกัน ทั้งในกลุ่ม และนอกกลุ่ม
รวมถึง มีการ แบ่งตัวเพิ่มจำนาน ของกลุ่มที่เหมือนกันออกมา
พูดง่ายๆก็คือ มีการกินอาหาร และ ขยายพันธุ์ ของสัตว์เซลล์เดียว  เป็นต้นกำเนิดของสิงมีชีวิต
 
สิ่งมีชีวิตมีระบบเคมีที่ซับซ้อน ต่างจาก ก้อนแร่แข็งๆ ที่ปฏิกริยาเคมีเกิดขึ้นน้อยมาก
เมื่อสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเล็ก เพิ่มจำนวนขึ้นมากๆเข้า
จนมีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายๆประเภท ที่เกิดจากการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม
พวกมันถ้อยที ถ้อยอาศัยกัน จนวิวัฒนาการทำให้พวกมัน รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้น
นั่นก็คือ พืช, แมลง, สัตว์น้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
มนุษย์เองก็คืออาณาจักรขนาดใหญ่ ของสัตว์เซลล์เดียว โดยมีสมองเป็นส่วนควบคุมเท่านั้นเอง
 
และเมื่อสิ่งมีชีวิต มีจำนวนมากเข้าๆ
ก็เริ่มเกิดระบบขึ้นมา เป็นสังคม  มีสิตว์กินพืช มีนักล่า มีตัวกินซาก
รังมด รังปลวก เองก็มีระบบอยู่ภายในเช่นกัน  และซับซ้อนขึ้น จนเกิดเป็นสังคมมนุษย์
ระบบเหล่านนี้ก็เทียบได้กับ ระบบของสัตว์เซลล์เดียวที่อยู่ภายในตัวพวกเรา
แต่พวกเราอยู่บนโลก เพราะฉะนั้น  ระบบของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ได้รวมตัวกันอีกขั้นนึง
กลายเป็สิ่งมีชีวิต ที่ใหญ่กว่า และอายุยืนกว่า นั่นก็คือ
ดาวเคราะห์
และเช่นกัน ดาวเคราะห์ก็มีระบบที่รวมตัวกันอยู่ กลายเป็น โซล่าซิสเต็ม กาเล็กซี่  และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้ายแล้ว สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุด อาจจะเป็น เอกภพ ก็เป็นได้
 
นั่นคือเท่าที่รู้
ธรรมชาติ ช่างกว้างใหญ่
มากกว่า แค่ ต้นไม้ สายลม และ ภูเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น