วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพยาบาลแห่งชาติ

วันพยาบาลแห่งชาติ
 
ภาพ:Nnnnn_4.jpg

         สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสียสละอุทิศพระวรกาย พระสติปัญญา และพระราชทรัพย์ เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขด้วยพระวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบให้วันที่ 21 ต.ค. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพเป็น "วันพยาบาลแห่งชาติ" ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา

 

 "สมเด็จย่า" พระมิ่งขวัญพยาบาลทั่วไทย

ภาพ:Nnnnn_1.jpg

         ด้วยพระอุปนิสัยของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระเมตตา เอื้ออาทรอยู่เป็นนิจ ทรงสุภาพอ่อนโยน การที่ทรงเลือกศึกษาด้านวิชาชีพการพยาบาลนี้จึงนับว่าถูกกับพระอุปนิสัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนก ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข มาโดยตลอด จึงโปรดเกล้าให้แพทย์และพยาบาลที่ตามเสด็จ ตรวจรักษาชาวบ้าน และตำรวจตระเวนชายแดนทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมประชาชนในท้องที่ห่างไกล ทรงจัดตั้ง หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือชื่อย่อว่า "พอ.สว." ขึ้นเพื่อปฏิบัติงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อดูแลรักษาประชาชนในหมู่บ้านห่างไกล นอกจากนี้ยังพระราช ทานทุนการศึกษาส่งเสริมนักศึกษาพยาบาลให้ได้รับการศึกษาต่อไปด้วย

 ความเป็นมาของวันพยาบาลแห่งชาติ

ภาพ:Nnnnn_2.jpg

         วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา และด้วยพระวิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชนทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึง สมควรเป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ให้ตระหนักในภารกิจของวิชาชีพแห่งตนว่าเป็นงานบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าแก่สังคม ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวแล้วนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2533 สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในนามของพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งประเทศถือเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่ง และได้ร่วมกันจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ในวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา
         การจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ได้จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 21 ตุลาคม 2533 โดย สภาการพยาบาล ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ ในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทยทุกคน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติในครั้งนั้น สภาการพยาบาลได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การจัดเดินเทิดพระเกียรติ การให้บริการตรวจสุขภาพ และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ประชาชน การประชุมวิชาการ และพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้ได้รับรางวัลพยาบาลดีเด่นในสาขาต่างๆ และได้จัดงานประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลพยาบาลดีเด่น เป็นประจำต่อเนื่องกันมาทุกปี จนถึงปัจจุบัน
         นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา สภาการพยาบาลได้จัดตั้งรางวัลสมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนีขึ้น เพื่อมอบให้กับพยาบาลวิชาชีพ ผดุงครรภ์ ในประเทศเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติในด้านการปฏิบัติงาน การวิจัย การศึกษา การบริหารทางการพยาบาล ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยผู้ได้รับการพิจารณารับพระราชทานรางวัลประจำปี 2547 ได้แก่ ดร.ฮิโรมิ มินามิ พยาบาลจากประเทศญี่ปุ่น
         รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงเป็นพระอนุสรณ์ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงมีคุณูปการล้นพ้นต่อการพยาบาลและการสาธารณสุขของไทย

 ดอกปีบสัญลักษณ์พยาบาลไทย

ภาพ:Nnnnn_3.jpg
 
  สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ใช้ "ดอกปีบ" เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก "ดอกปีบ" เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ "ดอกปีบ"

 กิจกรรมวันพยาบาลแห่งชาติ

   1. การเดินเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


                             2. จัดการประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ ใน
         การจัดกิจกรรมวันพยาบาลแห่งชาติของทุกปี ได้รับความร่วมมือและความสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากสมาชิกพยาบาลและผดุงครรภ์ทั่วประเทศ เนื่องเพราะพยาบาลทุกคนต่างร่วมกันตั้งปณิธานที่จะปฏิบัติภารกิจตามรอยเบื้องพระยุคลบาทตลอดไปสมกับคำขวัญ วันพยาบาลแห่งชาติที่ว่า
         "การพยาบาลก้าวไกล เพราะน้ำใจเหล่าพยาบาล เสียสละและบริการ ตามปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนนี"

 วัตถุประสงค์หลักการจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ

         1. เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวิชาชีพการพยาบาล
         2. เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ตระหนักและสำนึกในหน้าที่ เยี่ยงพระกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติเสมอมา
         3. เพื่อเป็นการเดินตามรอยพระบาทในการสร้างสรรค์สุขภาพดีถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน
         4. เพื่อเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของพยาบาลทั่วประเทศ

วันเยาวชนแห่งชาติ

20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ


วันเยาวชน



          ในปัจจุบันสังคมได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเยาวชน ซึ่งเป็นพลังลูกใหม่ๆ ที่จะมาสร้างและพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ดังนั้นองค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ปีพุทธศักราช 2528 เป็นปีเยาวชนสากล และขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญ “Participation Development and Peace”
 
          สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2528 กำหนดให้ วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ โดยถือว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล อันเนื่องมาจากตรงกับวันคล้ายวัน พระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงค์จักรีถึงสองพระองค์ คือ
 
          - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
 
          - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468
 
นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ยังขึ้นครองราชย์สมบัติขณะยังทรงพระเยาว์เหมือนกันอีกด้วย

 ความหมายของเยาวชน
         
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เยาวชน” ไว้หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส           ขณะที่องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายสากลของคำว่า “เยาวชน” หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี

  คำขวัญวันเยาวชนแห่งชาติ

         
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ จึงได้มอบคำขวัญที่ถอดความเป็นภาษาไทยว่า "ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ" ซึ่งมีความหมายละเอียดลึกซึ้งต่อเยาวชนทุกคน สามารถยึดถือและนำไปปฏิบัติดังนี้

           
ร่วมแรงแข็งขัน (Participation) หมายถึง การยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถวินิจฉัยและตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง และตระหนักว่าตนมีโอกาส ได้ใช้โอกาสและพึงพอใจที่ได้ใช้โอกาสด้วยตนเองอย่างเกิดคุณค่า โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใด การที่เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อชาติบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่นั้น เป็นความสำเร็จของสังคมและประเทศชาติ

         
 ช่วยกันพัฒนา (Development) การพัฒนานั้นมองได้ 2 มิติ มิติหนึ่งคือ การพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล และอีกมิติหนึ่ง คือ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ หากบุคคลพัฒนาตนเองได้ดีก็จะเป็นกำลังสำคัญ และอีกมิติหนึ่ง คือ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

         
ขณะเดียวกัน การพัฒนาสังคมและประเทศชาติก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของบุคคลด้วยกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนนี้ จึงมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน และในสภาวะปัจจุบัน ความร่วมมือในระดับนานาชาติ จะมีผลอย่างสำคัญยิ่งต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ

          
ใฝ่หาสันติ (Peace) สันติภาพเป็นหลักการพื้นฐานของชีวิต ความต้องการสันติภาพ เป็นความต้องการของสากลโลก ซึ่งทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสันติภาพและดำรงคงไว้ คนหนุ่มสาวจึงต้องร่วมมือกันในเรื่องนี้ ผลักดันให้เกิดมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นในวิถีการพัฒนาด้วยสันติ และสร้างสำนึกสันติภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังสั่งสอนเยาวชนให้รู้จักเคารพในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน มีความอดกลั้น ความเป็นประชาธิปไตย และเสรีภาพพื้นฐาน

  เครื่องหมายของวันเยาวชนแห่งชาติ
ในปี พ.ศ.2517 สำนักเยาวชนแห่งชาติ ได้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารและประสานงานเยาวชนแห่งชาติว่า เพื่อประสิทธิภาพและความมั่นคงในการดำเนินงานเยาวชนแห่งชาติ สมควรที่ขอรับพระราชทาน “เครื่องหมายเยาวชนแห่งชาติ” เพื่อเป็นสัญลักษณ์ผูกพันพลังน้ำใจ และเป็นเครื่องยึดมั่นสักการบูชาร่วมกันของบรรดาเยาวชน

          กลุ่มเยาวชน และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับเยาวชน จึงได้เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ซึ่งสำนักพระราชเลขาธิการได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระ บาท แล้วไม่ทรงขัดข้อง จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นำพระมหาพิชัยมงกุฎประดับบนส่วนยอดเครื่องหมายเยาวชน แห่งชาติ

                                                            เครื่องหมายวันเยาวชน

          เครื่องหมายเยาวชนนี้ได้รับพระราชทาน และพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระมหาพิชัยมงกุฎ บนส่วนยอดของเครื่องหมาย เพื่อเป็นมิ่งขวัญ กำลังใจ และสิริมงคลแก่ชีวิตของเยาวชน

         
รูปลักษณะของเครื่องหมายนี้เป็นรูปโล่สีธงชาติ มีอักษรคำว่า “เยาวชน” สีขาวอยู่ในวงกลมพื้นสีเขียว เบื้องบนเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีรัศมีอุณาโลม เบื้องล่างมีอักษรสีแดงว่า พลังพัฒนาชาติ รองรับด้วยรวงข้าว 9 รวง แยกอยู่ทางด้านขวา 5 รวง ด้านซ้าย 4 รวง ซึ่งสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้อธิบายได้ดังนี้ คือ


    1. พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ องค์ประมุขสูงสุดของประเทศ ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะ และเป็นจุดรวมน้ำใจของคนทั้งประเทศ
 
          2. รัศมีที่พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งหมายความว่า เยาวชนไทยนั้นอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือได้รับพระบารมีปกเกล้าฯ
 
          3. อุณาโลม หมายถึง หว่างพระขนงของพระพุทธเจ้า ใช้เป็นเครื่องหมายแทนศาสนา
 
          4. อักษรเยาวชนสีขาวในพื้นวงกลมสีเขียวรูปโล่สีธงชาติ หมายถึง พลังอันบริสุทธิ์แห่งความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเยาวชนไทย อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาการกสิกรรม อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
 
          5. รวงข้าวทั้ง 9 รวง มีความหมายถึง เป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนทั้ง 9 ประการ ตามนโยบายเยาวชนแห่งชาติ โดยที่รวงข้าวหมายถึง ความเติบโตงอกงาม ฉะนั้น คุณลักษณะ 9 ประการที่จะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเยาวชน จึงเปรียบเสมือนคุณสมบัติที่จะงอดงามขึ้นตามตัวเยาวชน
 
          6. อักษรว่า พลัง พัฒนาชาติ เป็นคำขวัญ เพื่อเตือนใจเยาวชนให้ตระหนักว่า พวกเขานั้นมีพลังบริสุทธิ์อันหนักแน่น จริงจัง ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากในการช่วยพัฒนาประเทศชาติ
 เป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติ

         
นับแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป เยาวชนของชาติจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน และพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องยิ่งกว่านั้นเยาวชนจำนวน 11 ล้านคนซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรได้ตระหนักว่า เยาวชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและ เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น  โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ข้อคือ
         
 1. เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุ 15 - 25 ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ

         
 2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านคุณภาพคุณธรรม

         
 3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล
 คุณสมบัติเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์
           เด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ควรมีคุณสมบัติ 6 ประการ
 
           1. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะในอาชีพและการดำรงชีวิตที่รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
 
           2. มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรงและรู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด
 
           3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบตามวัย
 
           4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจในการทำงานสุจริต
 
           5. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
 
           6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ
 กิจกรรมในวันเยาวชนแห่งชาติ

         
ในวันเยาวชนแห่งชาติของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนทั้งในด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เช่น

         
 การคัดเลือกเยาวชนผู้ทำคุณประโยชน์ในสาขาต่างๆ และมีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อมอบรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติให้เป็นการประกาศเกียรติคุณ และให้กำลังใจแก่เยาวชนผู้ทำความดี

         
 กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัยและชุมชน

         
 การบำเพ็ญประโยชน์และสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

         
วันเยาวชนแห่งชาติ จึงนับว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นให้เยาวชน ได้ค้นพบบทบาทและความสำคัญของตนเองที่มีต่อชุมชนและสังคม อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น … มีคำกล่าวที่ว่า เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เยาวชนก็เช่นกัน หากได้รับการปลูกฝังที่ดี และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีค่านิยมที่ถูกต้องแล้ว ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีสร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศได้ในอนาคต

          1. พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ องค์ประมุขสูงสุดของประเทศ ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะ และเป็นจุดรวมน้ำใจของคนทั้งประเทศ
 
          2. รัศมีที่พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งหมายความว่า เยาวชนไทยนั้นอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือได้รับพระบารมีปกเกล้าฯ
 
          3. อุณาโลม หมายถึง หว่างพระขนงของพระพุทธเจ้า ใช้เป็นเครื่องหมายแทนศาสนา
 
          4. อักษรเยาวชนสีขาวในพื้นวงกลมสีเขียวรูปโล่สีธงชาติ หมายถึง พลังอันบริสุทธิ์แห่งความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเยาวชนไทย อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาการกสิกรรม อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
 
          5. รวงข้าวทั้ง 9 รวง มีความหมายถึง เป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนทั้ง 9 ประการ ตามนโยบายเยาวชนแห่งชาติ โดยที่รวงข้าวหมายถึง ความเติบโตงอกงาม ฉะนั้น คุณลักษณะ 9 ประการที่จะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเยาวชน จึงเปรียบเสมือนคุณสมบัติที่จะงอดงามขึ้นตามตัวเยาวชน
 
          6. อักษรว่า พลัง พัฒนาชาติ เป็นคำขวัญ เพื่อเตือนใจเยาวชนให้ตระหนักว่า พวกเขานั้นมีพลังบริสุทธิ์อันหนักแน่น จริงจัง ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากในการช่วยพัฒนาประเทศชาติ

 เป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติ

         
นับแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป เยาวชนของชาติจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน และพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องยิ่งกว่านั้นเยาวชนจำนวน 11 ล้านคนซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรได้ตระหนักว่า เยาวชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและ เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น  โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ข้อคือ
         
 1. เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุ 15 - 25 ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ

         
 2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านคุณภาพคุณธรรม

         
 3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล  คุณสมบัติเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์            เด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ควรมีคุณสมบัติ 6 ประการ
 
           1. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะในอาชีพและการดำรงชีวิตที่รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
 
           2. มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรงและรู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด
 
           3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบตามวัย
 
           4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจในการทำงานสุจริต
 
           5. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
 
           6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ  กิจกรรมในวันเยาวชนแห่งชาติ

         
ในวันเยาวชนแห่งชาติของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนทั้งในด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เช่น

         
 การคัดเลือกเยาวชนผู้ทำคุณประโยชน์ในสาขาต่างๆ และมีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อมอบรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติให้เป็นการประกาศเกียรติคุณ และให้กำลังใจแก่เยาวชนผู้ทำความดี

         
 กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัยและชุมชน

         
 การบำเพ็ญประโยชน์และสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

         
วันเยาวชนแห่งชาติ จึงนับว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นให้เยาวชน ได้ค้นพบบทบาทและความสำคัญของตนเองที่มีต่อชุมชนและสังคม อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น … มีคำกล่าวที่ว่า เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เยาวชนก็เช่นกัน หากได้รับการปลูกฝังที่ดี และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีค่านิยมที่ถูกต้องแล้ว ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีสร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศได้ในอนาคต