วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันทรงดนตรีไทย

วันทรงดนตรี (6 กันยายน)






                                                                                                                       

        วันที่ 20 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งสำหรับชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระปฐมบรมราชูปถัมภ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้ว วันดังกล่าวยังตรงกับ “วันทรงดนตรี” ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีในระหว่างปี 2500-2516 บรรยากาศแห่งความทรงจำที่ประทับใจในครั้งนั้น ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของนิสิตเก่าชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสืบสาน สู่นิสิตปัจจุบันที่ตั้งใจร่วมกันจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ทุกวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ “วันทรงดนตรี” อยู่คู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดไป
 ความเป็นมา
        วันทรงดนตรี ถือกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าทรงเสียพระราชหฤทัยที่ไม่สามารถประทับอยู่ต่อในช่วงเวลาถวายพระสุธารสชาได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ ที่ประชุมจึงพร้อมใจถวายพระพรชัยมงคล และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์พระราชทานนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ด้วย
        ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรง กับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงดนตรีกับ “วงลายคราม” เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
        ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่า “อยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน” พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” อีกด้วย
        การแสดงดนตรีส่วนพระองค์ในวันนั้นเริ่มเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 18.45 น. นิสิตราว 2,500 คน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนอานันทมหิดลเป็นจำนวน 4,000 บาท หลังจากนั้นจึงพร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วตั้งแถวส่งเสด็จฯ และเปล่งเสียง “ไชโย” ถวายความจงรักภักดี
        ต่อมา ในปี พ.ศ. 2501 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำ “วงลายคราม” ไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร จากนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่ทรงมีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
 กิจกรรมวันทรงดนตรี
        เพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และสืบทอดการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในลักษณะวง Big Band ที่หาฟังได้ยาก รวมทั้งรวบรวมเงินสมทบทุนอานันทมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ขึ้นทุกปี
        ในงานจะเริ่มด้วยการบรรยายเรื่อง “พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พร้อมกับเล่าย้อนความทรงจำเกี่ยวกับวันทรงดนตรี นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการ “วันทรงดนตรี” อีกด้วย ซึ่งการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเมื่อปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างมาก มีนิสิตเก่าและประชาชนที่สนใจมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
 เรื่องเล่าจากความทรงจำวันทรงดนตรี
        สันทัด ตัณฑนันทน์ ประ ธานชมรมดนตรี ส.จ.ม. ปี 2501 เล่าถึงความประทับใจในวันทรงดนตรีในปีนั้นว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานและประทับใจ นิสิตทุกคนตื่นเต้นยินดี เฝ้ารอคอยวันเสด็จพระราชดำเนินด้วยใจจดจ่อ วันเสด็จพระราชดำเนิน น้องใหม่ยืนเข้าแถวรับเสด็จฯ ตั้งแต่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย จนถึงหน้าหอประชุม นิสิตชายแต่งชุดพระราชทานสวมเสื้อราชปะแตน นิสิตหญิงนุ่งกระโปรงน้ำเงิน สวมถุงเท้าขาว เป็นแถวรับเสด็จฯ ที่งดงามมาก
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นกันเองกับผู้ชมเป็นที่สุด ระหว่างการแสดงดำเนินไป มีผู้ถือพานรับบริจาค เงินสมทบทุนอานันทมหิดล วนเวียนอยู่ในหอประชุมตลอดเวลา ทรงมีรับสั่งว่า “ใครขอเพลงต้องบริจาค มากน้อยไม่เป็นไร เพลงไหนเล่นดีก็จะเล่น ให้ เพลงไหนเล่นไม่ได้ก็จะพยายามเล่น” สร้างความครื้นเครงให้กับผู้เข้าเฝ้าฯ ในวันนั้นเป็นที่สุด
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีรวม 15 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีได้ และด้วยเหตุที่นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ตลอดจนคณาจารย์เห็นว่า “วันทรงดนตรี” เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ จึงพร้อมใจกันจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีทุกวันที่ 20 กันยายน เริ่มตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา
        ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ รูปแบบของงานเป็นการขับร้อง และบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยนักร้องนักดนตรีวงซี.ยู.แบนด์ พร้อมนักดนตรีรับเชิญกิตติมศักดิ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวงดนตรีสากล ส.จ.ม. หรือวงซี.ยู.แบนด์ในปัจจุบัน ตลอดจนนักร้องรับเชิญซึ่งเคยเฝ้ารับเสด็จฯ ในงานวันทรงดนตรีในอดีตมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย





วันทรงดนตรี (6 กันยายน)




วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันสืบนาคะเสถียร

วันสืบ นาคะเสถียร (1 กันยายน)

วันสืบ นาคะเสถียร (1 กันยายน)
วันสืบ นาคะเสถียร
ทุกวันที่ 1 กันยายน ของทุกปี
สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด อุทัยธานี แลกชีวิตของตนเองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533
เพื่อ ปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมให้ตื่นขึ้น ให้รับทราบความเป็นไปของสถานการณ์ป่าไม้ และ สัตว์ป่าเมืองไทย คุณสืบ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นจริงจังใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายหลังการเสียชีวิตของคุณสืบ 18 วัน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ?วันที่ 18 กันยายน 2533? วันเดียวกับการครบรอบ 94 ปีของกรมป่าไม้ หน่วยงานต้นสังกัดของนักอนุรักษ์นี้
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ กำหนดขอบข่ายและทิศทางการทำงานไว้ 5 ประการ คือ
  1. การสนับสนุนการจัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ตลอดจนผืนป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ
  2. การปรับปรุงสวัสดิการเพื่อการเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
  3. งานรณรงค์ป้องกันรักษาผืนป่าอนุรักษ์และทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้การรณรงค์แนวความคิด "ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ"
  4. งานประชาสัมพันธ์และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เพื่อขยายแนวร่วม และเผยแพร่งานอนุรักษ์ส่วนกว้าง
  5. งานส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยสัตว์ป่า โดยจัดตั้งกองทุนสัตว์ป่าขึ้น
ประวัติ
สืบ นาคะเสถียรหรือนามเดิมชื่อ"สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี  มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบ นาคะเสถียร เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือคุณกอบกิจ นาคะเสถียรและคุณกัลยา รักษาสิริกุล  คุณสืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ  ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4 ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนหลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
พ.ศ.2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบมีความตั้งใจในการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างผู้ใกล้ชิดว่า สืบ นาคะเสถียร เป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่งในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิต
ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน พ.ศ.2514 จบการศึกษาจาก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ.2516 สืบ นาคะเสถียร
เข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ
พ.ศ.2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา  
และ ในปีพ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้
เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์ นั้นเจ็บปวดเพียงไหน
สืบ ทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น
จนกระทั่ง พ.ศ.2526 สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว "ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน"
ใน ระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบ ทำได้ดีและมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่งและการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา
                                                                                                              

และใน เวลา ต่อมา พ.ศ.2529 สืบได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน)  จังหวัด สุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียรเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงาน วิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแส การทำลาย ป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่
พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
สืบ ได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ
เช้า มืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกาย วาจา  และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...
                                   


                         


                                                        

วันสราทไทย

วันสารทไทย






          วันสารทไทย เป็นการทำบุญเดือน ๑๐ ของไทย ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ประมาณปลายเดือนกันยายน - ตุลาคม)
          คำว่า สารท พระยาอนุมานราชธน ได้เขียนไว้ในหนังสือเทศกาลและประเพณีไทยว่าเป็นคำอินเดีย หมายถึง ฤดู เป็นช่วงระยะเวลาที่พืชพันธุ์และผลไม้เริ่มสุกและให้พืชผลเป็นครั้งแรกในฤดู ประชาชนจะรู้สึกยินดีกับพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกนี้แล้วจะนำไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพที่ท่านช่วยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์จนเก็บเกี่ยวได้  
          การทำบุญวันสารทในประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือของนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มาจากศาสนาพราหมณ์
          การทำบุญสารท คือ ฤดูข้าวรวงเป็นน้ำนมนี้แก่พราหมณ์ เมื่อการพระราชพิธีของพราหมณ์ตกเข้ามาในแผ่นดินสยาม ก็เลยต้องประพฤติตามลัทธิพราหมณ์ด้วย ซึ่งนางนพมาศได้กล่าวไว้ว่า เป็นฤดูที่ชนทั้งปวงกวนข้าวปายาสและทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เมื่อสมณะพราหมณ์เป็นคู่กันเช่นนั้น ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาในชั้นแรกที่เข้ารีตใหม่เคยถือพราหมณ์เดิมได้ทำบุญตามฤดูกาลแก่พราหมณ์เดิมมาอย่างไร ครั้นเมื่อมาเข้ารีตถือพุทธศาสนาแล้ว เมื่อถึงกำหนดที่ตัวเคยทำบุญ ผู้ใดละเลยจะนิ่งเสียไม่ทำ เมื่อเชื่อว่าพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าพราหมณ์ ก็ต้องมาถวายพระสงฆ์เหมือนเช่นเคยทำอยู่แก่พราหมณ์ ถ้าผู้ใดจะละทิ้งศาสนาพราหมณ์เดิมของตัวให้ขาดไม่ได้ เพราะความเกรงใจก็ลงเป็นทำทั้งสองฝ่าย ถวายทานแก่สมณะด้วยพราหมณ์ด้วย
          การทำบุญวันสารทนั้นไม่ได้มีปรากฏแต่ในศาสนาพราหมณ์เท่านั้น ในศาสนาพุทธก็มีปรากฏในหนังสือพระธรรมบทเล่มหนึ่งสรุปได้ว่า
          เมื่อพระพุทธวิปัสสี ได้เกิดขึ้นในโลกมีพี่น้องสองคนชื่อ มหากาลเป็นพี่ และจุลกาลเป็นน้อง ทำการเกษตรกรรมร่วมกันปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย เห็นว่าควรนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงนำความไปปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่จุลกาลมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะนำข้าวไปถวายแด่พระภิกษุ มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น ๒ ส่วน ของตนส่วนหนึ่งและของจุลกาลส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำข้าวส่วนนั้นไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่านำเมล็ดข้าวต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ด้วยศพภสลีทานนี้จงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมวิเศษก่อนชนทั้งปวง เมื่อจุลกาลเสร็จธุระจากการถวายภัตตาหารแด่ภิกษุจึงกลับไปดูนาของตนก็พบว่าข้าวสาลีในนานั้นมีความเจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อข้าวสาลีเจริญขึ้นจนเป็นข้าวเม่า จุลกาลก็นำไปถวายพระสงฆ์อีก และได้ทำต่อมาอีกหลายครั้ง คือ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อทำเขน็ด เมื่อทำฟ่อน เมื่อขนไว้ในลาน เมื่อนวดข้าว เมื่อรวมเมล็ดข้าว เมื่อขนขึ้นฉาง รวมทั้งหมด ๙ ครั้ง แต่ข้าวในนาของจุลกาลกลับอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมิได้ขาดหายไป ต่อมาจุลกาลได้มาเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยผลบุญแห่งการถวายข้าวแด่พระสงฆ์ ท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นบุคคลแรกที่สำเร็จมรรคผลบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวง ตามที่ได้ปรารถนาไว้ในแต่ชาติจุลกาล
            ปัจจุบันการทำบุญวันสารทไทยนั้น นอกจากเพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจของเกษตรกรผู้ปลูกพืชธัญญาหารแล้ว บางแห่งเชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำบุญในวันนี้จะได้รับส่วนบุญเต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรมจะได้ไปเกิดหรือมีความสุข
          สำหรับขนมที่นิยมนำมาทำบุญวันสารทไทยนั้น ประกอบด้วย
          ขนมกระยาสารท ด้วยความเชื่อที่ว่าถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับจะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น การทำขนมกระยาสารทประกอบด้วย ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำมากวนเข้าด้วยกันเมื่อสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนกลมหรือตัดเป็นแผ่นก็ได้
          ข้าวยาคู ทำจากเมล็ดข้าวอ่อน เป็นเมล็ดข้าวที่มีเนื้อข้าวอยู่แล้วแต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะเก็บเกี่ยว วิธีทำคือให้นำข้าวอ่อนทั้งรวงมาตำให้เปลือกแตกออก เนื้อข้าวสีขาวผสมกับสีเขียวของเปลือกข้าวและก้านรวง ทำให้ได้น้ำข้าวสีเขียวอ่อนดูน่ากิน นำน้ำข้าวนี้ไปต้มไฟ และคอยคนไม่ให้เป็นลูก ใส่น้ำตาลทรายให้ได้รสหวานอ่อนๆ ก็จะได้ข้าวยาคู
          ข้าวมธุปายาส คือ ข้าวที่หุงเจือด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง มีตำนานเล่าว่า นางสุชาดาลูกสาวเศรษฐีปรุงขึ้นเป็นอาหารเพื่อแก้บน ต่อมานางได้เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ประทับใต้ต้นไทร ก็เข้าใจว่าพระองค์เป็นเทพยดาจึงนำอาหารนั้นไปถวาย พระโพธิสัตว์จึงได้เสวยข้าวมธุปายาสเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเชื่อกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารวิเศษ ผู้ใดมีวาสนาได้กินแล้วจะมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
          ข้าวทิพย์ ประกอบด้วยเครื่องปรุงถึง ๑๐๘ ชนิด หากทำแบบโบราณ แต่ในปัจจุบันประกอบด้วย น้ำนมข้าวเนย น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาล นม ถั่ว งาและข้าวเม่า (๙ ชนิด) ซึ่งการกวนแต่ละครั้งจะต้องใช้สาวพรหมจารีย์กวน ฟืนที่ใช้ต้องเป็นไม้ชัยพฤกษ์หรือไม้พุทราเท่านั้น ส่วนไฟก็ต้องเกิดจากแดดผ่านแว่นขยายที่เรียกว่า สุริยกานต์
            นอกจากนี้ การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยยังเป็นประเพณีที่แตกต่างจากประเพณีอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น อาทิ การตักบาตรขนมกระยาสารท ซึ่งส่วนใหญ่จะมีในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย และการตักบาตรน้ำผึ้ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญที่นิยมการตักบาตรน้ำผึ้ง
          เนื่องเทศกาลวันสารทไทยในปีนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกันทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการสร้างบุญกุศลให้แก่ตนเอง ถือเป็นการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป




ต้นกำเนิดของ "สารทไทย"

          ในประเทศไทย การทำบุญวันสารทมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์แพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีวันสารทมาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เหตุใดต้องมีพิธีสารทไทย

          เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ เพราะเชื่อกันว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ มีโอกาสหมดหนี้กรรม ได้ไปเกิด หรือมีความสุข

          ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นการผูกมิตรไมตรีกันไว้ เนื่องจากชาวบ้านจะทำขนมกระบาสารทไว้แจกจ่ายกันตามหมู่บ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง ทำให้ได้พบปะกัน

          เป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่

          เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจด ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ขจัดความตระหนี่ได้

          เป็นการบำรุง หรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป

          เป็นแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ หรือผีไร่ ผีนาที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี เนื่องจาก สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือน 10 นี้ ข้าวกล้ากำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงขอบคุณตอบแทน

กิจกรรมในวันสารทไทย

          กิจกรรมหลักๆ ของวันสารทไทย คือ การนำข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้ คือ ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการตักบาตรมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ตักบาตรน้ำผึ้งที่มีเฉพาะชาวไทยมอญ การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้น มีความเชื่อว่า เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีการฟังธรรมเทศนา ถือศีล ปล่อยนกปล่อยปลา