วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ซึ่งมีสารประกอบสำคัญได้แก่ กรดอินทรีย์และสารอินทรีย์อื่นๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ซึ่งช่วยลดการใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม
น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆมากกว่า 200 ชนิดสารประกอบที่สำคัญได้แก่ น้ำ 85%
กรดอินทรีย์ประมาณ 3% สารอินทรีย์อื่นๆประมาณ 12% สารประกอบที่สำคัญคือ
กรดอะซิติก( กรดน้ำส้ม) เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
สารประกอบฟีนอล เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และสารฆ่าแมลงใช้ล้างแผลทำยาจำพวกแอสไพรินและทำวัตถุหลอมเหลว
ฟอร์มัลดีไฮด เป็นสารในกลุ่มออกฤทธ์ฆ่าเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช
อธิล เอ็น วาเลอเรด เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
เมธานอลแอลกอฮอล์ ที่ดื่มกินไม่ได้ (หากเข้าตาจะทำให้ตาบอด) เร่งการงอกของเมล็ดและรากใช้ฆ่าเชื้อโรคและเป็นสารในกลุ่มออกฤทธ์ฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี
ประโยชน์ใช้ในการเกษตร กำจัดไส้เดือนฝอย แมลงดิน และปลวกรักษาโรคเชื้อราในยางพาราป้องกันโรครากแกนและโคนเน่าจากเชื้อรา เร่งการเจริญเติบโต กระตุ้นความต้านทานโรคป้องกันศัตรูพืช ขับไล่แมลงทุกชนิดช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาลของพืชทำให้มีรสหวานเป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี
ด้านปศุสัตว์ กำจัดกลิ่นและขับไล่แมลงในคอกสัตว์ ป้องกันไม่ให้แมลงวางไข่
รักษาโรคเรื้อนของสัตว์ ใช้ในการผสมอาหารสัตว์
ในครัวเรือน ป้องกันปลวกดับกลิ่นห้องน้ำและบริเวณที่ชื้นรักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนลวก
ข้อควรระวัง ระวังอย่าให้เขาตาอาจทำให้ตาบอดได้ น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นสารเร่ง จึงไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้ ควรฉีดพ่นก่อนดอกบานหากฉีดหลังดอกบาน แมลงอาจไม่เมาผสมเกสรเพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกอาจร่วงง่าย
ซึ่งประโยชน์ต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้กับนำส้มควันไม้ที่ได้มาตรฐาน ต้องแต่ขบวนการกลั่น เก็บ กรอง และตรวจเช็คคุณภาพทุกขั้นตอนผ่านเครื่องการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อหาค่าความถ่วงจำเพาะ และความเป็นกรดเป็นด่าง
ซึ่งเราสามารถทำได้และมีการทดลองใช้ในการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างได้ผลคุ้มค่าการผลิต



 

 
 
 
 
 
 
 
 

ข้าว

ข้าวไทย

 "ข้าว" เป็นอาหารประจำวันของคนกว่าครึ่งโลก 3 พันกว่าล้านคน ใน กว่า 200 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ปลูกข้าวมีประมาณ 113 ประเทศ ในทุกทวีป ยกเว้นแอนตาร์คติกเพราะเป็นทวีปที่มีแต่น้ำ เอเชียเป็นทวีปหนึ่งที่ปลูกข้าวได้มากที่สุดในโลก ถึงร้อยละ 90 มี จีนและอินเดียเป็น 2 ประเทศ ที่ถือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุด ผลิตได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณข้าวทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคในประเทศ ส่วนประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกนั่นก็คือ ประเทศไทย

ข้าวจึงมิใช่เป็นเพียงอาหารหลักที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้มหาศาลให้กับประเทศ ประชากรไทยกว่าร้อยละ 60 เป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ประเทศไทยส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกกว่า 5 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ 2546 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าว 7.34 ล้านตัน รองลงมาคือ อินเดีย ส่งออก 4.42 ล้านตัน อันดับ 3 คือสหรัฐอเมริกา ส่งออก 3.84 ล้านตัน และจีน ส่งออก 2.58 ล้านตัน อีกทั้งยังช่วยกอบกู้และพยุงเศรษฐกิจของประเทศในช่วงที่เกิดวิกฤติด้วย

นับว่าเป็นความโชคดีของประชาชนชาวไทยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีสายพระเนตร ที่ยาวไกล ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะยาว โดยให้เกษตรกรมีความก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เคร่ง เครียดกับการเร่งรัดให้ความเจริญโดยเร็ว และสิ่งสำคัญคือทรงช่วยเหลือราษฎรในภาคเกษตรให้สามารถพึ่งตนเองได้

พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในงานเกษตรกรรมรวมทั้งการวิจัยเรื่องข้าว พยายาม ทำทุกวิถีทางให้เกษตรกรมีข้าวพอกิน เพราะว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย พระองค์ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุข โดยเปรียบเสมือนว่าทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของพระองค์ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

"ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากอยู่มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้นเมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรจะปลูกพืช อื่น ๆ บ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกาก พืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้นเหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป"

พระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าวที่สำคัญอีกตอนหนึ่งว่า "ข้าวต้องปลูกเพราะอีก 20 ปี ประชากรอาจจะเป็น 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไรประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยต้องมีข้าว แม้ข้าวจะสู้ข้าวต่างประเทศไม่ได้เราก็ต้องปลูก"

แต่ทว่าในปัจจุบันความสำคัญของข้าวได้ถูกกระแสโลกาภิวัตน์บดบังความสำคัญไป จนกระทั่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้และไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องข้าวเท่าใดนัก ชาวนาไทยมีแนวโน้มที่จะใช้ที่ดินในการเพาะปลูกข้าวน้อยลง โดยภาคอุตสาหกรรมขอซื้อนาไปทำสนามกอล์ฟ บ้านจัดสรร และรีสอร์ตต่าง ๆ รวมทั้งการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานในเมืองกันมากขึ้น ภาวะโลก ที่ร้อนขึ้นทำให้เกิดความแห้งแล้ง บวกกับในเรื่องของปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่เป็นระบบ ทำให้ผลผลิตข้าวมีปริมาณลดน้อยลง

ดร.ขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการ มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึง ข้าวไทย ว่า ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย เป็นยิ่งกว่าอาหาร เพราะข้าวเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมข้าวขึ้น เพราะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของคนไทยมีพื้นฐานอยู่กับข้าว ในสมัยก่อนคนไทยเจอกันจะทักทายกันว่า "กินข้าวหรือยัง" หรือแม้แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกไปกินอะไรใครถามก็จะบอกว่า "ไปกินข้าว" ทั้ง ๆ ที่ความจริงอาจจะไปกินอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าว

"บางคนกินข้าวเสร็จก็จะยกมือไหว้ขอบคุณแม่โพสพที่ให้ชีวิตแก่เราที่ให้เรามีข้าวกินเพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่ในปัจจุบันเยาวชนไทยหันไปบริโภคอาหารตะวันตกกันมาก คงลืมไปว่าเมืองไทยปลูกข้าวไม่ใช่ข้าวสาลีที่นำมาทำขนมปัง"

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวมีมากมาย อย่างในภาคอีสาน ก่อนลงมือปักดำและทำนาจะมีพิธีเอาฝุ่นใส่นา พิธีไหว้แม่โพสพและผีตาแฮก พิธีกรรมแฮกไถนา พิธีแฮกดำนา ก่อนตีข้าวจะมีพิธีปลงข้าวเพื่อเคารพแม่โพสพและแม่ธรณี และก่อนที่จะเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉางก็ยังมีพิธีกรรมเรียกขวัญข้าวอีกด้วย รวมทั้งมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว

ในปี 2547 นี้ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นปีข้าวสากล (Internation Year of Rice 2004) ด้วยคำขวัญที่ว่า "Rice is Life" ข้าวคือชีวิต สืบเนื่องมา     จากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี อย่าง ณ เวลานี้ ทั่วโลกผลิตข้าวได้ประมาณ 550 ล้านตันต่อปี และภายในอีก 20 ปีข้างหน้า จากประชากรที่สูงขึ้นจะต้องมีการเพิ่มผลผลิตขึ้นประมาณ 700 ล้านตันต่อปี จึงจะเพียงพอกับประชากรโลก จึงมุ่งต้องการให้มีการเพิ่มผลผลิตข้าวและมุ่งเน้นในการรักษาวัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่มีมา ให้ทุกชาติตระหนักถึงความสำคัญของข้าวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

"ทางมูลนิธิฯ พยายามสนับสนุนให้รัฐบาลมองเห็นถึงความสำคัญของการตั้งยุทธศาสตร์ข้าวไทยเป็นวาระแห่งชาติ อยากให้รัฐบอกถึงวัตถุประสงค์จริง ๆ ของรัฐบาลว่ามองเรื่องข้าวไว้อย่างไร เมื่อมีจุดยืนที่แน่ชัดแล้วให้ออกมาในรูปของนโยบายชาติ ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งทุกวันนี้ชาวนาทำนาโดยไม่มีแนวทาง ไม่มีกรอบ ทำให้ไม่มีจุดยืนในการทำงาน หน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือกัน เพราะแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาข้าวไทยทั้งสิ้น"

เมื่อการทำนาเป็นอาชีพที่มีรายได้ที่แน่นอนสามารถลืมตาอ้าปากได้ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างมิติใหม่ยกระดับชีวิตเกษตรกรไทยให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมกับเป็นผู้ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งประเทศและส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก

คงเป็นเรื่องน่าเศร้าไม่น้อยหากกระดูกสันหลังของชาติถูกลืมไว้ข้างหลังด้วยน้ำมือของคนไทยด้วยกันเอง!!.

ข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ที่ปลูกในประเทศไทย

ข้าวนาชลประทาน

ข้าว กข 7 ข้าว กข 23 ข้าวสุพรรณบุรี 60 ข้าวสุพรรณบุรี 90 ข้าวพิษณุโลก 60-2 ข้าวชัยนาท 1 ข้าวสุพรรณบุรี 1 ข้าวสุพรรณบุรี 2 ข้าวคลองหลวง 1 ข้าวหอมสุพรรณบุรี ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวพิษณุโลก 1 ข้าวพิษณุโลก 2 ข้าวสุรินทร์ 1

ข้าวนาน้ำฝน 1 สามารถปลูกได้ทุกภาค

ข้าวขาวหอมดอกมะลิ 105

ข้าวนาน้ำฝน 2 ปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้าวเหลืองประทิว 123 ข้าวน้ำสะกุย 19 ข้าวพิษณุโลก 60-1 ข้าวชุมแพ 60  ข้าวพิษณุโลก 1 ข้าวพิษณุโลก 3 ข้าว กข 15

ข้าวนาน้ำฝน 3 ปลูกในภาคกลาง

ข้าวขาวตาแห้ง 17  ข้าว กข 27  ข้าวปทุมธานี 60

ข้าวนาน้ำฝน 4 ปลูกภาคใต้

ข้าวนางพญา 132 ข้าวแก่นจันทร์ ข้าวพัทลุง 60 ข้าวลูกแดงปัตตานี  ข้าวเล็บนกปัตตานี ข้าวเฉี้ยงพัทลุง

ข้าวขึ้นนาและข้าวน้ำลึก

ข้าวปิ่นแก้ว 56 ข้าวเล็บมือนาง 111 ข้าวหันตรา 60 ข้าวพลายงามปราจีนบุรี  ข้าวปราจีน 1  ข้าวปราจีน 2

  
                   

ปุ๋ยจากเศษอาหาร

 ปุ๋ยจากเศษอาหาร

ใช้กิ่งไม้ใบไม้แห้งจากสวน  เศษอาหารจากครัว   ปุ๋ยหมักคุณภาพดีนำไปใส่ต้นไม้  งอกงามดี ปลอดภัย ไร้สารพิษ หรือบรรจุถุงขายก็ได้


       ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารกับใบไม้แห้ง เหมาะสำหรับบ้านเรือนที่มี สวน สนามหญ้า หมู่บ้านจัดสรร  ชุมชนที่มีสวนและต้นไม้ เกษตรกรในพื้นที่เกษตร  หลังจากตัดแต่งกิ่งต้นไม้แล้ว อย่าทิ้งลงถังขยะนำไปหมักกับเศษอาหารที่เหลือจากครัว รดน้ำสักหน่อย ก็ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดี ปลอดภัย ไร้สารพิษ ไม่ทำให้ดินเสียไว้ใช้ช่วยประหยัดค่าปุ๋ยได้  และสามารถนำไปพัฒนาผลิตเพื่อการค้าก็ได้       
      
   วิธีทำ         1.  จัดหาภาชนะที่มีอยู่ในบ้าน เช่น วงบ่อคอนกรีต  คอกไม้  คอนกรีต หรือพลาสติก พร้อมทำฝาปิด สำหรับป้องกันน้ำฝน ทำให้กองปุ๋ยชุ่มน้ำเกินไป        
        
2.  เตรียมสถานที่บริเวณมุมรั้วบ้าน พร้อมอุปกรณ์เช่นสายยางรดน้ำ ถังตักน้ำสำหรับตักน้ำรดกองปุ๋ย   พลั่วตักดินสำหรับกลับกองปุ๋ย
        
3.  เริ่มต้นด้วยกิ่งไม้เล็กๆ รองพื้นให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก  แล้วตามด้วยใบไม้ กิ่งไม้แห้ง หนาประมาณ 20-30 ซม.ใส่เศษอาหาร จากครัวเรือน บนใบไม้แห้ง แล้วใช้พลั่วตักดินคลุกเคล้าให้เข้ากัน    คลุมปิดด้วยใบไม้แห้งป้องกันกลิ่น
        
4. รดน้ำกองปุ๋ยให้ความชุ่มชื้นเมื่อสังเกตว่ากองปุ๋ยแห้งเกินไป เพื่อช่วยให้จุลินทรีย์มีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต  โดยอาศัยเศษอาหารเป็นอาหาร   ดังนั้นจึงต้องเติมเศษอาหารอยู่เสมอเพื่อให้อาหารจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยกิ่งไม้ใบไม้ 
        
5. เติมใบไม้แห้งและเศษอาหารได้ทุกวัน  ทุกครั้งที่ใส่เศษอาหาร เศษผักผลไม้ หรือใบไม้สด(ใบไม้สดมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเศษอาหาร  เศษผักและผลไม้) ใช้พลั่วคลุกเคล้าให้เข้ากับใบไม้กิ่งไม้แห้ง  เพื่อให้เศษอาหารกระจายไปสัมผัสกับใบไม้แห้ง  ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนเนื่องจากการบูดเน่าของเศษอาหาร
        
6. ปิดฝาถังหมักป้องกันฝนตกลงกองปุ๋ย ทำให้ความชื้นมากเกินไป  เกิดการบูดเน่าได้ 
        
7. ถ้าต้องการให้ได้ปุ๋ยหมักเร็ว   ใส่สารเร่ง เช่น สารเร่งของกรมที่ดิน พด.-1 หรือ
 หัวเชื้อ EM ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 200   รดกองปุ๋ย ทุก 15 – 30 วัน
8.  หลังจากนั้น 45 – 60 วัน จะได้ปุ๋ยหมักไปใส่ต้นไม้ หรือบรรจุถุงขายได้           "เสียดายบ้างไหม... ถ้าต้องทิ้งปุ๋ยหมักไปเป็นขยะ...แล้วนำไปฝังกลบ...               ปุ๋ยหมักกิ่งไม้ใบไม้ หมักโดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ไม่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน...
                  
ปุ๋ยหมักกิ่งไม้ใบไม้+เศษอาหาร  จึงช่วยลดขยะ  ลดโลกร้อนด้วย...

                กลุ่มงานแผนงานและประเมินผล  กองนโยบายและแผนงาน ได้ทดลองหมักในถังพลาสติกที่มีรูให้อากาศเข้าได้โดยรอบถัง  โดยใส่ใบไม้แห้งครึ่งถัง แล้วใส่เศษอาหารที่เหลือจากการทานกลางวันของเจ้าหน้าที่ประมาณ 1 ชามใหญ่ รวมน้ำแกง หัวปลา กระดูก พบว่าสามารถเติมเศษอาหารได้ทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ต้องเติมใบไม้แห้งอีกประมาณ 2-3 กิโลกรัม  จึงสามารถกำจัดเศษอาหารได้วันละถึง 1 กิโลกรัม




\

 

   

ปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากต้นพืชและใบสดที่ปลูกเอาไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อไถกลบหรือทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพังหมดแล้วจะให้ธาตุอาหารพืช และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งจำเป็นต่อพืชหลักที่ปลูก ช่วยป้องกันไม่ให้ดินเกิดการเสื่อมโทรมเร็วเกินไป และยังช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำได้ด้วย

การปลูกพืชเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดนั้น หลังการไถกลบต้นพืชแล้ว ส่วนหนึ่งของเศษพืชที่ตกค้างอยู่จะทำหน้าที่คลุมดิน ป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวดิน ขณะเดียวกันเศษพืชที่อยู่ในดิน เมื่อสลายตัวจะกลายเป็นอินทรียวัตถุ ที่ช่วยให้สภาพทางกายภาพของดินดีขึ้น

คุณสมบัติของพืชที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ต้องเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้เร็วในดินทั่ว ๆ ไป เมล็ดงอกงามดี ออกดอกในเวลาสั้น ประมาณ 30-60 วัน และให้น้ำหนักสดสูง ต้านทางโรคและแมลงได้ดี ขยายพันธุ์ได้ง่ายและเร็วสามารถไถกลบได้ง่าย ลำต้นเปราะและเน่าเปื่อย สลายตัวได้รวดเร็วและที่สำคัญคือ ต้องมีธาตุอาหารสูง
ประโยชน์ของพืชสด
1. ลดอัตราการชะล้างพังทลายของดิน
2. ช่วยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย สะดวกในการไถพรวนและเตรียมดิน
3. เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำรักษาความชื้นให้แก่ดิน
4. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
5. ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
6. เพิ่มความสามารถในการดูดซึมธาตุอาหารของดินให้สูงขึ้น
7. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น
www.ldd.go.th
ปมรากของพืชตระกูลถั่ว ที่สามารถช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ดี
ประเภทของปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยพืชสดนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นพืชตระกูลถั่ว และที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่วที่มีใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ดังนี้
1. พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่นิยมใช้กันมากสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากว่าพืชตระกูลถั่วนอกจากจะขึ้นได้ง่าย และเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ที่รากพืชตระกูลถั่วจะมีปมรากมากมาย อันเป็นที่อาศัยของบักเตรีชนิดหนึ่ง คือ ไรโซเบียม ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้
2. พืชตระกูลหญ้า ส่วนมากเป็นหญ้าซึ่งปลูกเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ หญ้าเหล่านี้เมื่อปลูกแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดได้เช่นกัน แต่จะให้เพียงอินทรียวัตถุ    ส่วนแร่ธาตุอาหารพืชอย่างอื่นนั้นมีปริมาณน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว
3. พืชน้ำ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดที่สามารถนำมาใส่ในไร่นาแล้วไถกลบให้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ เช่น ผักตบชวา, จอก และแหนแดง
การใช้ประโยชน์
วิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดอาจแยกออกได้ตามลักษณะของระบบปลูกพืช ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
1. การปลูกพืชหมุนเวียน
2. การปลูกพืชแซม
3. การปลูกพืชแถบ
4. การปลูกพืชคลุมดิน


ปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมัก(Composting)



           การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์  จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย   วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ  2. แบบไม่ใช้อากศ

          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic   compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน   2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ   ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น   ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์   และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus)

          การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน   และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า   ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว   ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มีความดีน

         การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน   ช่วยเพื่มโพรงอากาศ   ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น   และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน   ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น   และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล   และธาตุไนโตรเจน  โพแทสเซียม   และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้

การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(Aerrobic Compost)

         การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุด   ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์   วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้   ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก(carbon-rich materrials) หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns) และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น   ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก   และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์   ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน   การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย


ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

         1.   อุณหภูมิ : อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมีผลโดยตรงกับกิจกรรมย่อยสลายทางชีวภาพของจุลทรีย์   ยิ่งอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolic rate) ของจุลินทรีย์มากขึ้น (เจริญเติบโตมากขึ้น) อุณหภูมิภายในระบบหมักปุ๋ยก็จะสูงขึ้นในทางกลับกันถ้าอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง  อุณหภูมิของระบบก็ลดลง จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์และก่อให้เกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมี 2 ประเภท คือ 1. แบคมีเรียชนิดเมโซฟิลิก (mesophilic bacteria) ซึ่งจะมีชีวิตเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 10^0C-45^0C (50^0F-113^0F) และ 2. แบคทีเรียชนิดเทอร์โมฟิลิก(thermophilic bacteria) ซึ่งเจริญเติบโตดีที่อุณหภูมิระหว่าง 45^0C-70^0C (113^0F-158^0F) การรักษาอุณหภูมิของระบบไว้เกินกว่า 55^0C (130^0F) เป็นเวลา 3-4 วัน   จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้   ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงถึง 69^0C (155^0F) การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของที่อุณหภูมิ  55^0C ถ้าอุณหภูมิเกิน 69^0C ประชากรของจุลินทรีย์จะทำลายบางส่วน   ทำให้อุณหภูมิของระบบลดลง   อุณหภูมิของระบบจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อประชากรของจุลินทรีย์เพอ่มขึ้น   ปริมาณความชื้น   ออกซิเจนที่มีอยู่   และกิจกรรมของจุลินทรีย์มีอิทธิพลของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น   เมื่อมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มขึ้นและควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าถึงทั่วกองปุ๋ยหมัก   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะกลับสูงขึ้นอีกครั้ง   ทำเช่นนี้จนกว่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าการทำปุ๋ยหมักเสร็จสิ้นสมบรูณ์ ขนาดของกองปุ๋ยหมักก็มีผลต่อุณหภูมิสูงสุดท่ะทำได้  โดยทั่วไปสำหรับกองปุ๋ยหมักที่เปิดโล่งควรมีขนาดของกองปุ๋ยหมักไม่น้อยกว่า 3 ฟุต x 3 ฟุต x 3 ฟุต

         2.   การเติมอากาศ (aeration) : ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   การย่อยสลายของอินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเป็นกระบวนการย่อยสลายที่ช้าแลพทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   ดังนั้นจึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเป็นระยะเพื่อให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ   ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยให้เร็วขึ้น   กองปุ๋ยหมักที่ไม่ได้กลับ   จะใช้เวลาย่อยสลสายนานกว่า 3-4 เท่า   การกลับกองปุ๋ยหมักจะทำให้อุณหภูมิสูงมากกว่า  ซึ่งจะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชและโรคพืชได้   กองปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นควรมีช่องว่างอากาศประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์   เพื่อให้สภาวะหารหมักที่ดีที่สุดเกิดขึ้น   และควรรักษาระดับออกซิเจนให้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั่งทั้งกองปุ๋ยหมัก   โดยทั่วไปรับออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 6-16 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ รอบผิวกองปุ๋ยหมัก   ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน   ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา   ดังนั้นออกซิเจนยิ่งมาก   การย่อสลายยิ่งเกิดมาก

3.   ความชื้น (moisture) : ความชื้นที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์   กองปุ๋ยหมักควรมีความชื้นที่เหมาะสมที 45 เปอร์เซ็นต์   ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปการย่อยสลายจะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายการใช้อากาศอยู่ระหว่าง 40-70 เปอร์เซ็นต์   การทดสอบความชื้นที่เหมาะสมในกองปุ๋ย   สามารถทำได้โดยใช้มือกำวัตถุอินทรีย์ในกองปุ๋ยแล้วบีบ   จะมีหยดน้ำเพีย 1-2 หยดเท่านั้น   หรือมีความรู้สึกชื้นเหมือนฟองน้ำที่บีบน้ำออกแล้ว
         4.   ขนาดวัตถุอินทรีย์ (particle size) : ขนาดวัตถุอินทรีย์ยิ่งเล็กจะทำให้กระบวนการย่อยสลายยิ่งเร็วขึ้น   เนื่องจากพื้นที่ให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายมากขึ้น   บางครั้งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากหรือมีความชื้นมากเช่นเศษหญ้าที่ตัดจากสนาม   ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้  จึงควรผสมด้วยวัตถุที่เบาแต่มีปริมาณมากเช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง กระดาษ เพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ถูกต้อง   หรือจะผสมวัตถุที่มีขนาดต่างกันและมีเนื้อต่างกันก็ได้   ขนาดของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 นิ้ว แต่บางครั้งขนาดวัตถุอินทรีย์ที่ใหญ่กว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้บ้างเพื่อช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น


         5.   การกลับกอง (turning) : ในระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ย   จุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญวัตถุอินทรีย์   ขณะที่ออกวิเจนถูกใช้หมดกระบวนการหมักปุ๋ยจะช้างลงและอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้อากาศหมุนเวียนในกองปุ๋ยหมัก   เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กลับจุลิทรีย์   และเป็นการกลับวัสดุที่อยู่ด้านนอกเข้าข้างใน   ซึ่งช่วยในการย่อยสลายเร็วขึ้น  ระยะเวลาในการกลับกอง    สังเกตได้จากเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักขึ้นสูงสุดและเริ่มลดลงแสดงว่าได้เวลาในการกลับกองเพื่อให้อากาศถ่ายเท

 6.   อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (carbon to nitrogen ratio) : จุลินทรีย์ใช้คาร์บอนสำหรับพลังงานและไปนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน   จุลินทรีย์ต้องการใช้คาร์บอน 30 ส่วนต่อไนโตรเจน 1 ส่วน (C:N=30:1โดยน้ำหมักแห้ง)   ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   อัตราส่วนนี้จะช่วยในการควบคุมความเร็วในการย่อยจุลินทรีย์   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก (มีคาร์บอนมาก) การย่อยสลายจะช้า   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำมาก (ไนโตรเจนสูง) จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปแบบของแอมโมเนียสู่บรรยากาศและจะเกิดกลิ่นเหม็น   วัตถุอินทรีย์ส่วนมากไม่ได้มีอัตราส่วน C:N = 30:1 จึงต้องทำการผสมวัตถุอินทรีย์เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ถูกต้องคือใกล้เคียงเช่น   การผสมมูลวัวที่มี C:N = 20:1 จำนวน 2 ถุง เข้ากับลำต้นข้าวโพดที่มี C:N =60:1 จำนวน 1 ถุง จะได้กองปุ๋ยหมักที่มี C:N =(20:1+10:1+60:1)/3=33:1 ตารางข้างล่างแสดงค่า C:N ของวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่า C:N ไม่เกิน 20:1 เพื่อป้องกันการดึงไนโตรเจนจากดินเมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

วิธีทำปุ๋ยหมัก (Composting Method)


          การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้


          1.   การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน(hot composting) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตฮิวมัสที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำหลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวันและโรคพืช   การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) หรือแบบกองบนลาน (windrow) จะต้องอาศัยการจัดการในระดับสูง   ส่วนแบบ in-vessel จะใช้การจัดการน้อยกว่า


          2.   การทำปุ๋ยหมักแบบเย็น (cold composting) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่โคนต้นไม้  แปลงสวนเล็กๆ และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน เวลาในการทำปุ๋ยหมักถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อม   ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2 ปีหรือมากกว่า


          3.   การทำปุ๋ยหมักแบบผืนแผ่น (sheet  composting) เป็นการนำอินทรีย์วัตถุมาโปรยกระจายตามผิวหน้าดินที่ราบเรียบและปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ   เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้ย่อยสลายจะซึมผ่านลงในดิน   วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผืนดินที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์   ภูมิประเทศข้างทางหรือใช้ควบคุมการกัดกร่อน  วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืช   ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซากพืชและมูลสัตว์ ระยะเวลาการย่อยสลายถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะใช้เวลานาน


          4.   การทำปุ๋ยหมักแบสนามเพาะ (trench composting) เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายเพียงแต่ขุดหลุมลึก 6-8 นิ้ว   แล้วใส่วัตถุอินทรีย์ลงไปให้หนา 3-4 นิ้ว แล้วกลบด้วยดิน   รอประมาณ 2-3 อาทิตย์   ก็สามารถปลูกต้นไม้ตรงหลุมได้เลยวิธีนี้ไม่สามารถทำลายเม็ลดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ กระบวนการย่อยสลายค่อนข้างช้า


ขันตอนการทำปุ๋ยหมัก


          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) และแบบกองบนลาน(windrow) จะวางวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โดนใช้หลักการสมดุลระหว่างวัตถุที่มีคาร์บอนสูง(ชื้น) และคาร์บอนต่ำ(แห้ง)และมีขั้นตอนการทำดังนี้


          ขั้นตอนที่ 1 ใส่วัตถุหยาบลงที่ก้นถังหรือบนพื้นดินให้หนา 4-6 นิ้ว


          ขั้นตอนที่ 2 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนต่ำลงให้หนา 3-4 นิ้ว


          ขั้นตอนที่ 3 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนสูงให้หนา 4-6 นิ้ว


          ขั้นตอนที่ 4 เติมดินทำสวนหรือฮิวมัสหนา 1 นิ้ว


         ขั้นตอนที่ 5 ผสมให้เข้ากัน


          ขั้นตอนที่ 6 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 จนเต็มถังหรือสูงไม่เกิน 4 ฟุต แล้วปกคลุมด้วยวัตถุแห้ง


การเติมวัตถุดิบระหว่างการหมักปุ๋ย



          การเติมวัตถุดิบใหม่ระหว่างการหมักปุ๋ยจะทำในช่วงเวลาที่มีการกลับกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าผสมโดยทั่วไปการเติมวัตถุดิบที่มีความชื้นเข้าไป  จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลาย  แต่ถ้าเติมวัตถุดิบที่แห้งไปกระบวนการย่อยสลายจะช้าลง


การทำถังหมักปุ๋ยสวนหลังบ้าน


          การทำถังหมักปุ๋ยสำหรับสวนหลังบ้านสามารถทำได้หลายวิธีโดยแบ่งตามขนาดที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก วิธีแรกเหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กโดยนำถังขนาด 200 ลิตร มาเจาะรูด้านข้างถังขนาด 0.5 นิ้ว 6-9 แถวดังรูปที่ 1 แล้ววางถังบนอิฐบล็อกเพื่อให้อากาศหมุนเวียนก้นถัง   เติมวัตถุอินทรีย์ลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของถังแล้วเติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (ประมาณ 30%N)1/4 ถ้วยลงไปพร้อมเติมน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะแต่ไม่ถึงกับเปียกโชก   ทุกๆ 2-3 วัน   ให้กลิ้งถังกับพื้นรอบสวนเพื่อให้มีการผสมและระบายอากาศภายในถัง   เมื่อกลิ้งถังเสร็จแล้วสามารถเปิดฝาถังเพื่อให้อากาศซึมผ่านเข้าถัง   การทำวิธีนี้จะใช้เวลาในการย่อยสลาย 2-4 เดือน


รูปที่ 1[5]


          วิธีที่สองใช้ถังกลมแบบหมุนได้   ตามรูปที่ 2 การหมักทำโดยการเติมวัตถุสีเขียว และสีน้ำตาลเข้าถังประมาณ ¾ ส่วนของถัง   ผสมให้เข้ากันและทำให้ชื้นพอเหมาะ   หมุนถังหนึ่งครั้งทุกวันเพื่อให้อากศหมุนเวียนและคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่ว   วิธีนี้สามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์   ไม่ควีเติมวัสดุจนเต็มถังเพราะจะไม่สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้และการระบายอากาศไม่ดี   การหมักแบบนี้ทำได้ทีละครั้ง (batch size)





รูปที่ 2[9]


          สำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่   การสร้างถังหมักปุ๋ยอย่างง่ายสามารถทำได้โดยการใช้ลวดตาข่ายเล็ก ๆ มาล้อมเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ฟุต   และสูงอย่างน้อย 4 ฟุต พร้อมกับมีที่เกี่ยวติกกันดังรูปที่ 3 ควรจะมีเสาปักตรงกลางถังก่อนใส่วตถุอินทรีย์เพื่อรักษารูปร่างของกองปุ๋ยหมักและช่วยอำนวยความสะดวกในการเติมน้ำ   การกลับกองปุ๋ยหมักสามารถทำได้ง่ายดายโดยการแกะลวดตาข่ายออกแล้วย้ายไปตั้งที่ใหม่ข้างๆ จากนั้นตักกองปุ๋ยหมักใส่กลับเข้าไป


 รูปที่ 3[5]
          อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทานคือการสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (three-chambered bin) ดังรูปที่ 4 ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี   โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน   การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรกและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น)เป็นเวลา 3-5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4-7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์   การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

 

รูปที่ 4[5]

          การหาทำเลสำหรับการตั้งปุ๋ยหมัก   ไม่ควรจะตั้งใกล้บ่อน้ำหรือที่ลาดชันไปสู่แหล่งน้ำบนดินเช่น ธารน้ำหรือสระน้ำควรตั้งในที่ไม่มีลมและโดนแสงแดดบางส่วนเพื่อช่วยให้ความร้อนแก่กองปุ๋ยหมัก   การตั้งถังหมักปุ๋ยใกล้ต้นไม้อาจทำให้รากต้นไม้ชอนไชเข้าถังได้   ทำให้ลำบากในการตักได้   ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรเริ่มต้น

ปัญหาที่เกิดระหว่างการทำปุ๋ยหมัก

          ปัญหาที่สามารถกเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยได้แก่   การเกิดกลิ่นเหม็น แมลงวันและสัตว์รบกวน กองปุ๋ยไม่ร้อน ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีแก้ไขดังนี้

         กลิ่นเหม็นเกิดจากการหมักแบบใช้อากาศเปลี่ยนเป้นการหมักแบบไม่ใช้อากาศเนื่องจากขาดออกซิเจนในกองปุ๋ยซึ่งมีสาเหตุจากกองปุ๋ยมีความชื้นมากเกนไปและอัดตัวกันแน่น  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้   การแก้ไขทำได้โดยการกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศและเติมวัตถุสีน้ำตาลประเภทฟางข้าว กิ่งไม้แห้ง เพื่อลดความแน่นของกองปุ๋ยและให้อากาศผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยได้

          แมลงวันและสัตว์ เช่น หนู รบกวน มีสาเหตุมาจากการใส่เศษอาหารลงในกองปุ๋ย   ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้ล่อแมลงวันและหนูให้เข้ามา   วิธีแก้ปัญหาคือให้ฝังเศษอาหารลงในกองปุ๋ยและกลบด้วยดินหรือใบไม้แห้ง  หรือทำระบบปิดป้องกันแมลงวันและหนู

          กองปุ๋ยไม่ร้อน มีสาเหตุได้แก่ 1. มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ 2 มีออกซิเจนไม่เพียงพอ 3. ความชื้นไม่เพียงพอ และ 4. การหมักเสร็จสมบรูณ์แล้ว   สาเหตุแรกแก้ไขได้โดยการเติมวัตถุสีเขียวซึ่งมีไนโตรเจนสูง เช่น เศษหญ้าสด เศษอาหาร   สาเหตุที่สองแก้ไขโดยกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศ ส่วนสาเหตุที่สามให้กลับกองและเติมนในกองปุ๋ยชื้น

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสัปรด

น้ำหมักจากเปลือกสัปรด


การทำน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรด

น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรดส่วนผสม 1. เปลือกสับปะรด 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ นำเปลือกสับปะรดหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่
น้ำตาลทรายแดงคลุกเคล้าให้ทั่ว เติมน้ำลงไปให้ท่วม ใส่ถัง
ปิดฝาให้สนิท ตั้งไว้ในที่ร่มอย่าให้ถูกแดด นาน 7 - 10 วัน
จึงนำมาใช้ได้
(กรณีใช้น้ำประปาต้องรองทิ้งไว้สัก 2 วัน เพื่อให้คลอรีน
ระเหยเสียก่อน)




ขั้นตอนการทำ


1. นำเปลือกผลไม้มาหันเป็นชิ้นเล็กๆ
2. ผสมน้ำตาลทรายแดงและหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าด้วยกัน


3.นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ถังแล้วปิดฝาให้สนิท วางไว้ในที่ร่ม
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรด
1. น้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 : 50 เทลงในท่อระบายน้ำ ช่วยดับกลิ่นเหม็นได้
2. น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 : 50 ใช้ล้างภาชนะที่มีคราบไขมัน ช่วยให้ ล้างง่ายขึ้น และลดปริมาณการใช้น้ำยาทำความสะอาด
3. น้ำหมักชีวภาพใช้เทลงในโถส้วม ท่อระบายน้ำ ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 50 ใช้ล้างทำความสะอาดพื้นห้องสุขา ลดกลิ่นเหม็นและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายได้
4. น้ำหมักชีวภาพใช้เทลงในท่อระบายน้ำทิ้งจากโรงอาหารช่วยขจัดคราบไขมันอุดตันตามท่อน้ำทิ้ง ช่วยย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้าง ลดการบูดเน่าและกลิ่นเหม็นได้ ปรับสภาพน้ำทิ้งให้ดีขึ้น ก่อนปล่อยลงท่อน้ำทิ้งของเทศบาล
5. น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 : 50 ให้ฉีดพ่นบริเวณที่มีกลิ่นอับชื้น ช่วยลดกลิ่นเหม็นอับ และทำให้อากาศสดชื่นหรือใช้ถูพื้นอาคารที่เป็นกระเบื้อง หินขัด ทำให้พื้นสะอาดเป็นเงางาม
6. น้ำหมักชีวภาพเทลงในถังเกรอะ หรือโถส้วม ช่วยลดปัญหาส้วมเต็มกลิ่นเหม็นอืดได้
7. กากที่เหลือจากการหมักนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ โดยนำไปผสมกับเศษกิ่งไม้ ใบไม้
เศษหญ้า ปุ๋ยคอก แล้วราดด้วยน้ำหมักชีวภาพ คลุกเคล้าให้เข้ากัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกทิ้งไว้
ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะย่อยสลายเปื่อยยุ่ย นำไปใช้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา


วันออกพรรษา
วันออกพรรษา

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา

 

          หลังเทศกาลเข้าพรรษาผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน ก็จะเป็น วันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้
          วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรื ออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

          สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

          ทั้งนี้เมื่อทำพิธี วันออกพรรษา แล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ 


           ไปไหนไม่ต้องบอกลา
           ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
           มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
           มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก 4 เดือน

 ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
           ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา 

          หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

          สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

          งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส"  ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

          งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณี วันออกพรรษา ในแต่ละภาค

นอกจากนี้ในแต่ละภาคก็จะมีประเพณีที่ต่างกันไป

วันออกพรรษา ภาคกลาง

          จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

          จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

          แต่สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11  ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล

          ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ 


พิธีชักพระทางบก          

          ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1 - 2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานีก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย

พิธีชักพระทางน้ำ

          ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ โดยการนำเรือมา 2 - 3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานก็จะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วมจะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

          ในเขตที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตแม่น้ำลำคลองก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือนจะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต

กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา

           1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

           2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา

           3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

           4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

           5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

           6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้

           เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล

           การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน

           ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา

           เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

          ดังนั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก